วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติสะพานข้ามแม่น้ำแคว



ประวัติสะพานข้ามแม่น้ำแคว



สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดียอีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า
ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้าม
แม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสะพานข้ามแม่น้ำแควเดิมได้รับความเสียหาย และรัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ดังเดิม ปัจจุบัน มีการยกย่องให้สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ



บริการเสริม
ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว มีบริการรถราง Fairmong ทุกวัน โดยวันธรรมดา จะมีตั้งแต่เวลา 08.00-10.30 น., 11.20-14.00 น., 15.00-16.00 น., และ 18.00-18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-09.30 น., 11.20-14.00 น., และ 18.00-18.30 น. ค่าโดยสารคนละ 20 บาท



งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว
งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จัดในช่วงปลายเดือน
พฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดงนิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียง บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว



การเดินทาง


ทางรถยนต์
จาก
กรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงหมายเลข 4 ) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
จาก
กรุงเทพฯ ใช้ถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี ( ทางหลวงหมายเลข 338 ) มุ่งหน้าสู่นครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี
จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไป โดยจะผ่านสะพานไปบ้านแพ้ว ผ่านสะพานไปตัวเมือง
นครปฐม ผ่านแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นจะถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ( สะพานนี้จะอยู่เลนซ้ายสุด )
จากแยกนครชัยศรี - สะพานไปจังหวัด
กาญจนบุรี.. ระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร



หมายเหตุ.. ตามแยกต่างๆ ไม่ต้องเลี้ยว ให้ขับตรงไป ให้ไปขึ้นสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรีระยะทางจากแยกนครชัยศรี - สะพานไปบ้านแพ้ว ประมาณ 8.5 กิโลเมตรระยะทางจากสะพานไปบ้านแพ้ว - สะพานไปตัวเมืองนครปฐม ประมาณ 0.5 กิโลเมตรระยะทางจากสะพานไปตัวเมืองนครปฐม - แยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 6.4 กิโลเมตรระยะทางจากแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี - สะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร


เมื่อถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ให้ขับขึ้นสะพานไป หลังลงสะพานแล้ว จากนั้นขับตรงไปประมาณ 11.2 กิโลเมตร จะพบสี่แยก ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปไปถ้ำค้างคาว เลี้ยวขวาไปกาญจนบุรี ) ให้เลี้ยวขวา แล้วขับตรงไป ประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงตัวอำเภอท่ามะกา จากนั้นให้ขับตรงไปประมาณ 18.5 กิโลเมตร จะถึงแยกซ้ายไปตัวอำเภอท่าม่วง ไม่ต้องเลี้ยว ให้ขับตรงไปประมาณ 11.1 กิโลเมตร จะผ่านศาลากลางจังหวัด ซึ่งอยู่ด้านขวามือ จากนั้นขับตรงไป ประมาณ 2.4 กิโลเมตร จะผ่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต 1 ( ททท ) ซึ่งอยู่ด้านขวามือของท่าน เลยจาก ททท ไปประมาณ 200 เมตร ทางด้านขวามือของท่าน คือ สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นขับตรงไปประมาณ 3.9 กิโลเมตร จะถึงแยกซ้ายมือเข้า สะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นเลี้ยวซ้าย แล้วขับตรงไปประมาณ 700 เมตร ก็จะถึง สะพานข้ามแม่น้ำแคว



ทางรถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่
กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี
รถปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพ - กาญจนบุรี ค่าโดยสาร 112 บาทรถปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพ - กาญจนบุรี ค่าโดยสาร - บาทรถตู้ปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด สายกรุงเทพ - กาญจนบุรี ค่าโดยสาร - บาท (รถออกจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
จากขนส่งกาญจนบุรีนั่งรถสายกาญจนบุรี - เอราวัณ หรือรถสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี ( ค่าโดยสาร 5 บาท ) ไปลงตรงแยกซ้ายมือเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไปประมาณ 700 เมตร ( ค่าโดยสาร 10 บาทสำหรับมอเตอร์ไซต์รับจ้าง )



ทางรถไฟ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ป้ายหยุดรถไฟสะพานแควใหญ่
โดยสารขบวนรถไฟประจำ
ธนบุรี - น้ำตก หรือขบวนรถนำเที่ยวพิเศษ กรุงเทพ - น้ำตก (เฉพาะเสาร์ - อาทิตย์) ลงที่ สะพานแควใหญ่ ซึ่งอยู่ที่เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแควพอดี